ปรับปรุงล่าสุด 5 ม.ค. 2022 09:44:30 1,592

สภาพที่ตั้งทั่วไป

      ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไข่นก หมู่ที่ 1 ตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอม่วงสามสิบ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 30.75 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 19,218.75 ไร่ (1 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 625 ไร่)

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลโพนแพง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหนองขอน ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

เขตการปกครอง

      ตำบลหนองไข่นก ประกอบด้วย หมู่บ้าน จำนวน 8 หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไข่นก ทั้งหมด ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านหนองไข่นก มีบ้านเรือน จำนวน 185 หลังคาเรือน
  • หมู่ที่ 2 บ้านก่อ มีบ้านเรือน จำนวน 89 หลังคาเรือน
  • หมู่ที่ 3 บ้านบก มีบ้านเรือน จำนวน 113 หลังคาเรือน
  • หมู่ที่ 4 บ้านดอนขวาง มีบ้านเรือน จำนวน 62 หลังคาเรือน
  • หมู่ที่ 5 บ้านหนองยอ มีบ้านเรือน จำนวน 116 หลังคาเรือน
  • หมู่ที่ 6 บ้านหนองไข่นกน้อย มีบ้านเรือน จำนวน 83 หลังคาเรือน
  • หมู่ที่ 7 บ้านก่อบึง มีบ้านเรือน จำนวน 131 หลังคาเรือน
  • หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งส้มป่อย มีบ้านเรือน จำนวน 129 หลังคาเรือน

เนื้อที่

      องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไข่นก มีเนื้อที่รับผิดชอบ ประมาณ 30.75 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 19,218.75 ไร่ (1 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 625 ไร่)

ลักษณะภูมิประเทศ

      มีพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นา เหมาะสำหรับการปลูกข้าว อากาศค่อนข้างร้อน ปริมาณน้ำฝนถือว่าเพียงพอต่อการเพาะปลูก อยู่ในเขตมีเอกสารสิทธิ์ที่ทำกินเป็นโฉนดที่ดิน และ สปก.

ประชากร

      ตำบลหนองไข่นก มีประชากรทั้งสิ้น 3,672 คน สามารถแยกเป็นเพศชาย จำนวน 1,814 คน เพศหญิง จำนวน 1,858 คน และจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 908 หลังคาเรือน

สภาพสังคม

      ในเขตรับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไข่นก มีหน่วยงาน องค์กร โครงสร้างพื้นฐานทางด้านสังคมต่างๆ ดังนี้

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไข่นก
  2. โรงเรียนประถม จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านก่อบึง และ โรงเรียนบ้านบก
  3. โรงเรียนขยายโอกาส (ประถมปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3) จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองไข่นก
  4. ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลหนองไข่นก
  5. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองไข่นก
  6. หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับในชีวิตและทรัพสิน จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ศุนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ตำบลหนองไข่นก
  7. มวลชนจัดตั้ง จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น จำนวน 437 คน สมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม 1 รุ่น จำนวน 40 คน และ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 2 รุ่น จำนวน 65 คน
  8. การคมนาคม ตำบลหนองไข่นก มี ถนนคอนกรีต จำนวน 9 สาย ถนนลาดยาง จำนวน 8 สาย ถนนลูกรัง จำนวน 34 สาย และ ถนนดิน จำนวน 13 สาย
  9. การไฟฟ้า ตำบลหนองไข่นก มีไฟฟ้าเข้าถึงทั้ง 8 หมู่บ้าน และมีผู้ใช้ไฟฟ้าครบทั้ง 908 ครัวเรือน

สภาพเศรษฐกิจ

      ประชากรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไข่นกส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ ทำนา รองลงมา คือ ปลูกพริก และปลูกผัก โดยมีหน่วยธุรกิจในเขตพีื้นที่ ดังนี้

  1. โรงสีข้าว จำนวน 36 แห่ง
  2. ร้านซ่อมรถ จำนวน 2 แห่ง
  3. ร้านค้า จำนวน 17 แห่ง
  4. ปั้มน้ำมัน จำนวน 3 แห่ง
  5. ผลิตจำหน่ายขนมจีน จำนวน 1 แห่ง
  6. เขียงเนื้อ 1 แห่ง
  7. ร้านอิเล็คทรอนิก จำนวน 1 แห่ง
  8. ตลาดนัดชุมชน จำนวน 2 แห่ง
  9. ร้านขายพลาสติก จำนวน 1 แห่ง
  10. ร้านตัดผม จำนวน 2 แห่ง
  11. ร้านทำแค็ปหมู จำนวน 2 แห่ง
  12. ร้านเสริมสวย/ร้านค้า จำนวน 1 แห่ง
  13. ร้านเสริมสวย จำนวน 1 แห่ง
  14. อู่ซ่อมรถ จำนวน 1 แห่ง
  15. ร้านค้ากองทุนหมู่บ้าน จำนวน 4 แห่ง
  16. กลุ่มทำเซียนหมาก จำนวน 1 แห่ง
  17. ร้านซ่อมโทรศัพท์ จำนวน 1 แห่ง
  18. โรงสีข้าวขนาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง
  19. รับจ้าง(รถแทรกเตอร์) จำนวน 1 แห่ง
  20. ร้านปะเปลี่ยนยางรถยนต์ จำนวน 1 แห่ง
  21. ร้านซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ จำนวน 1 แห่ง
  22. ฟาร์มหมู จำนวน 1 แห่ง
  23. ร้านอาหารตามสั่ง จำนวน 1 แห่ง
  24. บริษัททีโอที จำกัด (ตู้โทรศัพท์) จำนวน 1 แห่ง

แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

      ตำบลหนองไข่นก มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ในพื้นที่ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ลำห้วยแจระแม ลำห้วยหิน ลำห้วยคำม่วง ลำห้วยซัน และ มีบ่อน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 180 บ่อ ใช้ประโยชน์สำหรับ พื้นที่การเกษตร ประมาณ 300 ไร่

ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

      ประชาชนส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ โดยมีศาสนสถาน (วัด) ในพื้นที่ จำนวน ทั้งหมด 5 แห่ง

 

"